จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!


สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!

    “เกษตรกร” จัดเป็นอาชีพนักผลิตที่ทรงภูมิควรแก่การยกย่องสรรเสริญ เพราะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบด้านอาหารรายใหญ่ จึงได้ชื่อว่ากระดูกสันหลังของชาติ แต่การจะเป็นกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่ง จำเป็นจะต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน อันจะนำไปสู่การล่มสลายกลายเป็นคนง่อยหรืออัมพาต จนสุดท้ายต้องออกมาปิดถนน เรียกร้องหาความยุติธรรมจากผู้ถืออำนาจรัฐ เมื่อบทเรียนก็มีให้เห็นปีแล้วปีเล่า ทั้งข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ไฉนเลยเกษตรกรจึงไม่หลาบจำ ทำไมไม่หันมาสร้างภูมิคุ้มกันโดยการพึ่งพาตัวเอง ไม่หวังพึ่งรัฐ และให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างคุณภาพมากกว่าการผลิตที่เน้นปริมาณ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง และเลือกขายได้
ดังตัวอย่าง คุณการีม เหมศิริ บ้านเลขที่ 11/13 หมู่ที่ 6 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (โทร. 08-9679-6318) เกษตรกรคนเก่งแห่งเมืองหลวง ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน หยัดยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง สร้างรายได้ปีละ 1.6-1.7 ล้านบาทเลยทีเดียว
เขตหนองจอกอยู่ในส่วนกรุงเทพฯ ชั้นนอก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดอาชีพการทำเกษตร ดังนั้นสองข้างทางจึงเต็มไปด้วยแมกไม้ และนาข้าวที่เขียวขจี ประหนึ่งยืนอยู่ท่ามกลางชุมชนชนบทไกลปืนเที่ยง หลายชุมชนที่นี่ยังคงยึดอาชีพเกษตรในการหล่อเลี้ยงชีวิต และเกษตรกรที่นี่อาจได้เปรียบตรงที่เป็นแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภคแหล่งใหญ่ คือกรุงเทพฯชั้นใน สินค้าเกษตรหลากหลายชนิดจึงมีพ่อค้าแม้ค้ามาจับจองตั้งแต่ยังไม่ถึงวันเก็บเกี่ยว รวมถึงปลาดุกในบ่อของการีมด้วย เพียงแค่เอ่ยปากว่า “จะขาย” พ่อค้าแม่ขายต่างก็มาเข้าคิว นำอวนและลูกจ้างมาจับปลาไปจากบ่อพร้อมกับจ่ายเงินสดเป็นปึก ๆ เป็นค่าตอบแทน ให้การีมได้แย้มยิ้มหน้าบาน
คุณการีม ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ตัวเองไปทำงานอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียในตำแหล่งโอเปอเรเตอร์ เมื่อถึงกำหนดลาพักร้อนจึงลากลับมาเมืองไทย พอกลับมาถึงบ้านมีความรู้สึกว่าตนเองนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ จึงไปช่วยงานน้าชายซึ่งเลี้ยงปลาดุกอยู่
12771909_964050536965873_8548435801028705836_o
“ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่กลับมาพักที่บ้านก็คลุกคลีอยู่ในบ่อปลาดุกจนกระทั่งเกิดความคิดว่า หลังจากหมดสัญญาที่ไปทำงานยังซาอุฯ จะกลับมายึดอาชีพเกษตร เพราะจะได้อยู่กับครอบครัว อีกอย่างหากเรารู้จักการจัดการและดูแลกิจการให้ดี ๆ การทำเกษตรในบ้านราก็มีรายได้ไม่ต่างจากการไปทำงานที่เมืองนอกเลย”
ภายหลังจากหมดสิ้นสัญญาจ้างงานจากประเทศซาอุดิอาระเบีย การีมก็กลับมาสร้างฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยนำเงินที่เก็บสะสมได้จากการทำงานไปซื้อที่ดิน เพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา และพื้นที่นอกเหนือจากบ่อ ก็ได้ปลูกผลหมากรากไม้ เช่น มะม่วง มะยงชิด กล้วย ขนุน ฯลฯ ไว้อย่างหลากหลาย
 “ตอนแรกผมขุดเพียงบ่อเดียว พื้นที่ไม่กว้างมากเพราะอยากทดลองเลี้ยงดูก่อน โดยในชุดแรกปล่อยลูกปลาทั้งหมด 1 แสนตัว และใช้อาหารคืออาหารเม็ด ซึ่งผลปรากฏว่าการใช้อาหารเม็ดนั้นต้นทุนจะสูงมากและอัตราการแลกเนื้อจะได้น้อยกว่าอาหารสด ภายหลังจากจับปลารอบแรกเสร็จสิ้น ผมก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะทำให้ต้นทุนการลี้ยงปลาดุกของเราถูกลง และได้ปลาตัวโต น้ำหนักดี ซึ่งตอนนั้นประจวบเหมาะกับทาง บ.บริษัทซีพีได้เปิดประมูลโครงไก่ ผมก็ไปประมูลเพื่อนำมาบดเป็นอาหารให้ปลาดุก และโชคดีที่ผมผ่านการประมูล ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องของอาหารปลาอีกต่อไป”
  ปัจจุบันการีมได้ขยายบ่อเลี้ยงปลาทั้งหมดเป็นจำนวน 5 บ่อ รวมพื้นที่การเลี้ยงปลาทั้งหมด 14 ไร่ โดยการีมอธิบายการเลี้ยงปลาดุกให้ฟังอย่างละเอียดว่า ภายหลังจากการขุดบ่อเรียบร้อยแล้ว (บ่อใหม่) หรือจับปลาออกจากบ่อเรียบร้อยแล้ว(บ่อเก่า) เราจะต้องตากดินอย่างน้อย 1 เดือน จากนั้นจึงผันน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วจึงเติมปูนขาว 12 ลูก และ ซีโอไรท์ 5 ลูก (ขนาดบ่อ 4 ไร่ ลึก 1.5 เมตร) และวัดค่า pH โดยค่า pH ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของปลาดุกคือ 4.5 จากนั้นจึงปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อ 1 แสนตัว โดยการเลี้ยงนั้น ในระยะ 1 เดือนแรกจะใช้อาหารเม็ดสลับกับอาหารสด (โครงไก่บดละเอียด) และภายหลังจากเดือนที่สองเป็นต้นไปจะให้อาหารสดเพียงอย่างเดียว โดยปลา 1 แสนตัว หากเป็นปลาอายุตั้งแต่ 2-5 เดือนจะกินอาหารวันละ 500 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหารบ่อละ 3,000 บาท รวมจำนวน 5 บ่อคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารวันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ในการเลี้ยงปลาดุกนั้นจะต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 5 เดือนจึงจะสามารถจับขายได้ โดยปลาดุก 1 บ่อ (1 แสนตัว) จะให้น้ำหนักประมาณ 15 ตัน (1,5000 กิโลกรัม) โดยราคารับซื้อหน้าบ่อจากพ่อค้าในปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท เมื่อหักลบต้นทุนการผลิตแล้ว ในการเลี้ยงปลาแต่ละรอบจะได้กำไรประมาณ 160,000 -170,000 บาท และใน 1 ปีจะสามารถเลี้ยงได้ 2 รอบ/บ่อ
คุณการีมยังอธิบายอีกว่า อุปสรรคในการเลี้ยงปลาดุกก็คือต้นทุนสูง ถ้าเราจัดการบริหารไม่ดีก็จะไม่มีกำไรเกิดขึ้น ในบางรายแม้ปลาดุกจะได้ราคาดีแต่ระบบการจัดการไม่ดีก็มีเหตุให้ต้องหยุดเลี้ยงไปก็มี เนื่องจากมองไม่เห็นกำไร นอกจากอุปสรรคในเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วในเรื่องของโรคก็สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคดีซ่าน ซึ่งจะเป็นมากในช่วงหน้าหนาว โดยลักษณะอาการคือปากเปื่อย ตัวเปื่อย หางเปื่อย โรคชนิดนี้หากเป็นแล้วจะเป็นโรคร้ายแรงและทำให้ปลาตายยกบ่อได้ วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคนี้คือหมั่นสังเกตน้ำไม่ให้น้ำเสีย คือมีสีเขียวเข้มจัดเกินไป หากน้ำมีสีเข้มจัดควรผันน้ำใหม่เข้ามาเพิ่มในบ่อและเติมซีโอไรท์เพื่อปรับคุณภาพน้ำลงไปประมาณ 10 ลูก
   และหากสังเกตเห็นว่าปลากำลังเริ่มเป็นโรคให้ใช้ยา ชื่อสามัญ โคไมซิน คลุกกับอาหารเม็ดหว่านให้ปลากินจนปลาหายขาดจากโรค จึงให้อาหารสดตามปกติ นอกจากนี้อุปสรรคอีกอย่างคือในเรื่องของภัยธรรมชาติ เช่นปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ปลาในบ่อก็ออกไปหมดเช่นกัน ในรอบการเลี้ยงรอบนั้นขาดทุนกว่า 3 ล้านบาท แต่ก็ยังโชคดีที่ธนาคารได้พักชำระหนี้ให้ระยะหนึ่ง จึงทำให้ผมสามารถฟื้นตัวได้อีกครั้ง และอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ผมอยากฝากไว้เป็นแนวคิดกับคนที่คิดจะเลี้ยงปลาก็คือ “ลูกจ้าง” ต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นตกกลางคืนคนงานเหล่านี้ก็จะขโมยปลาเราไปขาย ซึ่งผมก็เคยประสบเหตุดังกล่าวมาเช่นกัน จึงทำให้ปัจจุบันต้องลงมาทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ถึงจะเหนื่อยหน่อย ถ้ามันคุ้มค่าเหนื่อยก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเองครับดีกว่าปล่อยให้เขามาโกงเรา” คุณการีม กล่าวทิ้งท้าย

วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง ง่ายๆรายได้งาม

วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง ง่ายๆรายได้งาม

วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง ง่ายๆรายได้งาม
การเตรียมหน่อกล้วยหอมทองสำหรับปลูกให้มีอัตรารอดสูง
การคัดเลือกหน่อพันธุ์ปลูก :
          เป็นสิ่งสำคัญต่อผลผลิตที่จะได้รับในอนาคตหน่อพันธุ์ที่อ่อนหรือแก่จนเกินไปจะทำให้กล้วยตกเครือไม่พร้อมกัน การเลือกหน่อพันธุ์ปลูก ควรเป็นหน่อใบแคบหรือหน่อดาบเป็นหน่ออ่อนที่มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ สังเกตุได้จากใบที่เรียวเล็ก หน่อลักษณะเช่น นี้มักจะเกิดอยู่กับโคนต้นเดิมและมีขนาดอวบสมบูรณ์เหมาะสำหรับที่จะเลือกไปเป็นหน่อพันธุ์ปลูกอย่างยิ่ง
วิธีการแยกหน่อกล้วย : 
          ขุดหน่อกล้วยโดยใช้ชะแลงเหล็ก ตัดหน่อให้แยกออกจากกอเดิมก่อนแล้วใช้จอบขุดให้รอบเพื่อให้รากขาด จากนั้นให้ใช้ชะแลงงัดหน่อกล้วยขึ้นมาวิธีนี้จะทำให้หน่อกล้วยที่ได้ไม่ช้ำและหลุดออกง่ายเมื่อขุดหน่อได้แล้วให้ใช้มีดคมๆ ปาดรากกล้วยที่ยาวออกให้เหลือรากติดเหง้ากล้วยประมาณ 1 นิ้วเป็นพอ
วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง
ภาพ www.vigotech.co.th
ระยะปลูก : 
          ใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่
การเตรียมดินปลูก : 
          ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทองจะร่วนซุย ควรไถด้วยผานเจ็ด 2 ครั้งหรือจะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้งเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเทเพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน
ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม :
          ปกติกล้วยหอมทองจะปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกกันมากในช่วงต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน
วิธีปลูกกล้วยหอมทอง :
         – หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้ว
         – ขุดหลุมลึกประมาณ 50 ซม. หรือ1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก
         – นำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดินเหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอนหลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดิน
         – นำเศษพืชมาคลุมโคนเพื่อรักษาความชื้น
การดูแลรักษากล้วยหอมทองให้ได้ผลผลิตดี 
การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก :
          ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้งแต่ถ้าเป็นหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อนควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น
การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย :
          ถ้ามีการตัดหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลาจะทำให้ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น
การให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง : 
         ควรให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปทั้งสองอย่างปริมาณจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดินสำหรับปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมสำหรับกล้วยหอมทองคือ 21-0-0 จำนวน ใช้ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง
การให้น้ำกล้วยหอมทอง :
          การให้น้ำกล้วยหอมทองจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆและขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวันเหมือนพืชอื่น
การตัดแต่งหน่อและใบกล้วยหอมทอง :
          1. การแต่งหน่อกล้วยหากปลูกกล้วยต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายนประมาณเดือนมิถุนายนกล้วยจะแตกหน่อตามขึ้นมาประมาณ 4-7 หน่อต่อกอเมื่อหน่อตามมีใบคลี่แล้ว ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้นกะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้วจากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) ทุกๆ 15 วันจะทำให้โคนหน่อกล้วยขยายใหญ่ขึ้นเหมาะที่จะนำไปปลูก
          2. การตัดแต่งใบกล้วยขณะที่มีการแต่งหน่อ ควรทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วยและควรตัดแต่งใบกล้วยไปจนกว่ากล้วยจะตกเครือ การตัดให้เหลือใบกล้วยไว้กับต้น 10-20 ใบต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นกล้วยอย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมาเพราะส่วนที่เหลือยื่นยาวไว้นั้นจะเหี่ยวแล้วรัดลำต้นทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร
ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง
ประมาณ 10 เดือนหลังปลูก :
          กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา *การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วันถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่
 
หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน :
          กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลมสีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน)ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหาเรื่องเปลือกกล้วยที่แตกทำให้ผลผลิตเสียหาย

การตัดหน่อกล้วยสำหรับเลี้ยงไว้ในปีต่อไป
          หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไปควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้
          1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นอวบอยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว
          2. ควรเหลือไว้ประมาณ 2 หน่อ ที่อยู่ตรงข้ามกัน
          3. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่าย


ที่มา : www.rakbankerd.com

ภาพ : www.pritipbrand.com
เรียบเรียง : 

ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้หอมไทยแท้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10

ต้นรวงผึ้ง พรรณไม้หอมไทยแท้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10

ต้นรวงผึ้ง
          มาทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ไทยแท้ กลิ่นหอม ต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 กันค่ะ
 
          ต้นรวงผึ้ง ที่มีดอกสีเหลืองโดดเด่นและส่งกลิ่นหอม เป็นพรรณไม้ไทยแท้อันทรงคุณค่า เพราะเป็นต้นไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ต้นรวงผึ้ง ต้นไม้ประจำรัชกาลที่ 10 ให้มากขึ้น ทั้งวิธีปลูกต้นรวงผึ้งไปจนถึงสรรพคุณต้นรวงผึ้ง แล้วจะรู้ว่าต้นไม้ไทยต้นนี้น่าปลูกมาก ๆ เลยล่ะค่ะ 

1. ความสำคัญ
 
          ต้นรวงผึ้ง ถือว่าเป็นพรรณไม้อันทรงคุณค่าและมีเกียรติชนิดหนึ่ง ที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 เนื่องจากดอกรวงผึ้งจะผลิดอกออกใบในช่วงวันพระบรมราชสมภพพอดี ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปลูกต้นรวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จฯ ไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนแห่งพระองค์ท่านและเป็นสิริมงคลแก่ราษฎร
 
2. ลักษณะ
 
          โดยทั่วไปจะเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นรวงผึ้ง” แต่ถ้าหากได้ยินคนเรียก ต้นน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง หรือดอกน้ำผึ้ง ก็ไม่ต้องสงสัยไป เพราะชื่อเหล่านี้เป็นชื่อเรียกของคนท้องถิ่นที่มักได้ยินกันบ่อยในแถบกรุงเทพฯ และภาคเหนือ ต้นรวงผึ้ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow star และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Schoutenia glomerata King subsp.peregrina (Craib) Roekm. 
          ต้นรวงผึ้งจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทนแดดและชอบขึ้นในที่แล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 แฉกติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ดอกจะบานได้นาน 7-10 วัน ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน 
ต้นรวงผึ้ง
3. วิธีปลูกและวิธีการดูแล
 
          วิธีขยายพันธุ์ต้นรวงผึ้งที่นิยมมากที่สุดคือ การตอนกิ่ง ด้วยการควั่นกิ่งและลอกเปลือกออก จากนั้นนำดินเหนียวและกาบมะพร้าวชุบน้ำมาหุ้มแผลเอาไว้ ห่อด้วยแผ่นพลาสติกและมัดเชือกปิดมิด ดูแลรดน้ำตามปกติ อาจจะใช้ฮอร์โมนเร่งรากด้วยก็ได้ รอรากงอกออกมาภายใน 2-3 วัน จึงค่อยตัดไปปลูกลงในหลุมดินร่วน เพื่อให้ได้ผลดีแนะนำให้ปลูกในที่กลางแจ้ง เนื่องจากเป็นพืชที่ชอบแดดและทนแล้งได้ดี รดน้ำปานกลาง และปลูกไว้บริเวณแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ต้นก็จะเจริญเติบโตออกดอกสวยงาม
 
4. ประโยชน์
 
          แม้จะไม่ใช่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยบังแดดและให้ร่มเงาได้ มีรูปลักษณ์และสีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เพื่อปรับบรรยากาศให้สดชื่น นอกจากนี้ยังเป็นไม้มงคลที่เหมาะจะนำมาปลูกประดับสวนภายในบ้านและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคนธาตุไฟ ต้นรวงผึ้งก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น
          
          หากใครที่กำลังมองหาไม้ยืนต้นหรือไม้ประดับเอาไว้จัดสวนอยู่ ก็ลองนำต้นไม้มงคลอย่างต้นรวงผึ้งไปพิจารณากันดูนะคะ รับรองได้เลยว่าทั้งรูปทรง กลิ่นหอม และความเป็นมงคลของต้นไม้ชนิดนี้ จะทำให้สวนของคุณดูพิเศษขึ้นมาทันที
ติดตามข่าว รัชกาลที่ 10 ทั้งหมด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก royalparkrajapruekKu และ Thaitreeflowers

วิธีปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!


ปลูกดาวเรืองขาย กำไรเป็นแสน!!


วิธีปลูกดาวเรือง
1.เตรียมกระถางใส่ดินลงไป และรดน้ำให้ดินชุ่มชื่นทิ้งไว้ 1 คืน
2.นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุม แต่ละกระถาง ที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
3. รดน้ำดาวเรืองอย่างต่อเนื่อง  โดยสัปดาห์แรกควรรดน้ำเช้า – เย็น จากนั้น สัปดาห์ต่อไป รดน้ำเช้า หรือเย็นอย่างเดียวได้ค่ะ
4.เมื่อดาวเรืองอายุ 15 – 25 วัน ใส่ปุ๋ยลงไป และก็รอให้ต้นดาวเรืองออกดอก ก็สามารถตัดดอกไปใส่ในกระถางประดับบ้านให้สวยงามได้แล้วค่ะ
การปลูกต้นดาวเรืองนอกจากจะเสริมมงคลให้บ้านแล้ว ยังสามารถนำดอกมาประดับตกแต่งบ้านได้อีกด้วยนะคะ แถมได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://decor.mthai.com/garden/21988.html

เลี้ยงปลาหมอ เชิงธุรกิจ 110 วัน รายได้งาม


เลี้ยงปลาหมอ เชิงธุรกิจ 110 วัน รายได้งาม
การเดินทางของทีมงานเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง เมื่อได้ทราบว่ายังมี การเลี้ยงปลาหมอ ทางภาคใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพ จาก อำพรพันธุ์ปลา โดย คุณพีระพงค์ เจริญลาภ หรือ คุณพงค์ ที่เคยให้ ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าไปพบปะพูดคุยและเยี่ยมชมฟาร์มเพาะ เลี้ยงปลาหมอ ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ จ.สุราษฎร์ธานี มาแล้ว 15 ปี อัมพรพันธุ์ปลาวันนี้ลูกค้าของคุณพงค์ไม่เคยลดลงไป แถมจะมีแต่เพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่สามารถผลิตตรงตามออร์เดอร์ที่ทุกคนสั่งได้ ซึ่งเขาพอใจกับกำลังการผลิตในตอนนี้อยู่แล้ว
ลักษณะบ่อเลี้ยงปลาหมอ
ลักษณะบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เลี้ยงปลาหมอ

เลี้ยงปลาหมอ ต้องมีการเตรียมบ่อโดยมีการสาดปูนขาวแล้วใส่น้ำประมาน 30 เซนติเมตร แช่ไว้ 3-4 วันแล้วดูดออกและเติมน้ำบาดาลไปเรื่อยๆจนได้ 75 เซนติเมตร ก่อนปล่อยปลา 1 วันจะใช้ด่างทับทิม ครึ่งกิโลกรัม หรือหว่านเกลือ 60 กิโลกรัม ก่อนเพื่อฆ่าเชื้อ และเมื่อลงปลาได้ 1 วัน จะให้ อาหารอนุบาลปลาวัยอ่อน ปั้นเป็นก้อนโยนให้วันละ 3 มื้อ
หากอากาศร้อนให้จะไม่ให้เลย และเมื่อปลาครบ 2 เดือนจะมีการเติมน้ำในบ่อทุกวันโดยใช้ระบบน้ำล้น ในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใส่ EM  หรือ กากน้ำตาลเสริมโดยที่นำมาคลุกกับอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต่อการย่อยอาหารและขยายลำไส้
และนอกจากนี้ยังให้วิตามินซีเสริมเพื่อให้ปลาลดความเครียด อาหารที่คลุกกับสารเสริมต่างๆจะใช้ของ บริษัท  ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปลาหมอของอำพรฟาร์ม เป็นปลาหมอที่มีการแปลงเพศจะทำให้กินอาหารเก่ง ใช้ระยะเวลาใน เลี้ยงปลาหมอ 110 – 130 วัน ซึ่งจะใช้อาหารเพียง 500 กระสอบ กำไรจะมาก อัตราแลกเนื้ออยู่ที่ 1.5 – 1.6 ขนาดไม่จำเป็นต้องใหญ่ขอให้มีขนาดเสมอกัน แต่อาหาร บริษัท ไทยลักซ์ ฯ เลี้ยงแล้วสีสวย นวล เหมือนปลาธรรมชาติ เกร็ดแข็งทำให้ขั้นตอนในการขนส่งง่ายขึ้น ไม่บอบช้ำ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ให้เกษตรกรหันมาใช้กัน
อาหารปลาหมอ-อาหารปลาดุก
อาหารปลาหมอ-อาหารปลาดุก

ปัญหาในการเลี้ยง

มรสุมประจำถิ่นของภาคใต้คือในช่วงเช้าแดดแรงและช่วงบ่ายมีฝนตก ซึ่งสภาพอากาศแบบนี้จะเป็นปัญหาหลักต่อระบบการย่อย หากอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงเร็วจะทำให้ปลาอ่อนแอ มีวิธีแก้ไขเพียงวิธีการเดียวคือการสังเกตและชะลอการให้อาหาร  ปัญหาที่ตามมาคือลมจัด ลมพัดแรงทำให้อาหารโดนพัดไปอยู่ริมตลิ่ง กินได้ไม่ทั่วถึง
แต่ปัญหาที่เกษตรกรผู้สนใจเลี้ยงปลาหมอ ทุกคนกังวลใจคือการปีนหนีของปลาหมอ ซึ่งปลาเมื่อมีการปรับปรุงสายพันธุ์หรือแปลงเพศแล้วจะไม่มีการปีนขึ้นขอบบ่อ เนื่องจากจะมีการเจริญพันธุ์ที่ช้าทำให้ปลาไม่ไข่ซึ่งหากปลาหมอเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตทันที สังเกตได้ง่าย ๆ  ปลาจะมีอัตราการกินอาหารลดลงแสดงว่าปลาจะไข่

ลี้ยงปลาหมอ ร่วม ปลาดุกอุย

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา คุณสุรกิจ เลาวกุล เลี้ยงปลาหมออยู่ใน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จะ เลี้ยงปลาดุกอุย ร่วมกับ ปลาหมอ ในบ่อเดียวกัน  เพื่อเพิ่มรายได้ก่อนหน้าที่จะเข้ามาสู่ในวงการสัตว์น้ำคุณ   คุณสุรกิจ  ชีวิตที่ต้องย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดพิจิตร มาทำงานที่โรงแรมชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและได้พบกับภรรยา ทำงานที่เดียวกันแต่มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่แล้วภรรยาได้ป่วย จึงอยากที่จะย้ายกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด และเมื่อย้ายกลับมาจึงมองหาอาชีพที่สามารถทำได้ซึ่งตอนนั้นสัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดคือตะพาบน้ำส่งออกจีน มีความสนใจจึงไปศึกษามาจากจังหวัดสุพรรณบุรีและกลับมาเลี้ยง แต่แล้วกลับประสบปัญหาขายไม่ได้ทำให้ขาดทุนเป็นสาเหตุให้เลิกเลี้ยงไปในที่สุด แต่แล้วได้มีคนแนะนำให้ลองเลี้ยงปลาหมอในขณะที่บ่อว่างและยังไม่รู้จะทำอะไรต่อ และครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงยังไม่รู้แม้กระทั่งตลาดที่รับซื้อหรือคนจับ 
การเลี้ยงปลาหมอ
เลี้ยงปลาหมอ

การเลี้ยงปลาดุก อุยเสริมรายได้ในบ่อปลาหมอ

การเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ โดยจะเลี้ยงปลาดุกอุยร่วมกับปลาหมอในบ่อเดียวกันเพื่อเพิ่มรายได้แต่ต้องมีวิธีการประหยัดต้นทุนโดยการนำปลาดุกอุยขนาดลูกตุ้มมาปล่อยลงบ่อก่อน 100,000 ตัว
อายุปลาประมาณ 1 เดือน ก็จะนำปลาหมอมาปล่อยอีก 40,000 ตัว ตามลงไปซึ่งจะได้จับพร้อมกัน แต่ในช่วงฤดูหนาวจะเลี้ยงยากเพราะอากาศเย็นปลาดุกอุยจะไม่ชอบจึงทำให้เลี้ยงยาก ปริมาณน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหมอและปลาดุกอุยร่วมกันจะอยู่ที่ 1.2-1.5 เมตร
ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง หากพูดถึงการเตรียมบ่อก็จะใช้วิธีทั่วไป แต่จะมีการใช้โดโลไมท์ในการปรับสภาพน้ำหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ และอาหารที่ให้นั้นช่วงแรกจะให้เป็นอาหารกุ้งซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดจม เพื่อให้ลูกปลาได้กินและเป็นการทำน้ำเขียวสร้างอาหารธรรมชาติไปในตัวด้วย

ฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก

ภายใน 1 ปี จะเลี้ยงปลาหมอได้ 3 รอบ ในช่วงฝนจะพบปัญหาในการเลี้ยงบ้างเล็กน้อยเมื่อปลามีขนาดที่ใหญ่แล้ว หากมีฝนตก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง หรือช่วงที่ชาวบ้านเรียกกันว่าฝนเดือนห้าฟ้าเดือนหก เป็นช่วงที่ฝนฟ้าคะนอง ก็เป็นสาเหตุทำให้ปลาตายได้ ปลาจะตกใจและพุ่งชนพื้นเลนในบ่อตาย
ในส่วนฤดูหนาวปลาจะกินอาหารน้อยแต่ในทางภาคใต้ฤดูหนาว ไม่ค่อยมีจึงไม่เกิดปัญหาในช่วงฤดูนี้ให้เห็นชัดอาจจะมีแค่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบางวันเท่านั้น แต่ในช่วงฤดูร้อนมักจะพบปัญหามากที่สุดเนื่องจากหากปลาไม่ได้รับการปรับพันธุ์หรือแปลงเพศในเดือนที่ 3 ของการเลี้ยงปลาจะเริ่มไข่ และกินอาหารลดลงกว่าปกติ ส่งผลให้หยุดการเจริญเติบโตและปลาจะมีลักษณะที่ผอม ยาว และทำให้เสียราคาตอนจับผลผลิต
ปลาหมอ-ที่เลี้ยงหนักเกือบครึ้งกิโลกรัม
ปลาหมอ-ที่เลี้ยงหนักเกือบครึ้งกิโลกรัม

“หัวเล็กตัวโต” … ปลาหมอ พันธุ์ใหม่โตเร็ว อัตรารอดสูง

การพัฒนาสายพันธุ์ต้องมีการพัฒนาอยู่แล้วเพราะกาลเวลาเปลี่ยน ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิคุ้มกันที่มีต่อโรค อัตราการเจริญเติบโต และปัจจัยอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้หนีห่างจากปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องพบเจอและเพื่อเป็นการพัฒนาวงการปลาหมอให้ก้าวหน้าขึ้นไป การพัฒนาสายพันธุ์ ในครั้งนี้
เริ่มต้นจากเดิมนั้น มีสายพันธุ์เป็นของตัวเองเมื่อปี  47 รวบรวมพ่อแม่พันธุ์ จากบ่อเลี้ยงธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้ และสมุทรสาคร เสร็จช่วงปี 49 โดยมีที่ปรึกษาเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ผ่านมาหลายรุ่น
โดยในรุ่นล่าสุดมีพัฒนาสายพันธุ์โดยนำสายพันธุ์ชุมพรเข้ามาพัฒนาอีกครั้งเมื่อปี 55 ร่วมกับสายพันธุ์ปลาธรรมชาติของจังหวัดเพชรบุรี นครพนมและนครศรีธรรมราช  จนปัจจุบันออกมาเป็นลูกผสม โดยมีอัตรารอดสูง และอัตราการเจริญเติบโตที่ดีกว่าเดิม   ต้านทานโรคเพิ่มขึ้น รูปทรงของปลาหมอมีลักษณะรูปทรงที่หัวเล็กโครงร่างใหญ่ทรงสวย ซึ่งแพที่จับชอบมาก เ
พราะการจับปลาหมอหากจับแล้วจะเลี้ยงต่อไม่ได้ ปลาจะไม่กินอาหาร เมื่อผ่านไปหลายวันปลาจะผอมลง หากปลามีขนาดหัวที่ใหญ่จะทำให้ปลาหมอดูผอมไม่น่าซื้อขาย หากหัวเล็กและปลามีขนาดผอมลงไปก็จะมีขนาดที่พอดีกัน สามารถซื้อขายกันได้ตามปกติ สรุปข้อดีคือสามารถยืดระยะเวลาการซื้อขายสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้นนั่นเอง
คัดเลือกลูกปลาหมอ
คัดเลือกลูกปลาหมอ

ผลิตกว่า 1 ล้านตัวต่อเดือน

การผลิตลูกปลาหมอให้มีคุณภาพและมีปริมาณที่มากเพื่อให้เพียงพอต่อตลาดนับว่ายาก ตลาดในตอนนี้มี 2 ที่หลักๆ คือ ภาคใต้นครศรีธรรมราชและภาคกลางโซนจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม สามารถกระจายลูกพันธุ์ปลาหมอได้แหล่งละประมาณ 500,000 ตัว และลูกพันธุ์ก่อนจะออกจากฟาร์มจะต้องผ่าน เช่น เช็คโรค เช็คปรสิต  โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ หากชุดไหนไม่ผ่านจะไม่จำหน่ายให้ลูกค้า

เดินตลาดจริงรูปแบบใหม่

ตลาดหากจะเดินไปข้างหน้าต้องศึกษาเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ เพื่อที่จะให้ตลาดเดินได้แบบเต็มตัว ต้องลงพื้นที่คุยกับคนเลี้ยงและแพรับจับหรือแม้กระทั่งอาหาร ต้องเดินไปด้วยกันได้ทั้งหมด คนเลี้ยงจะต้องมีกำไร แพจะต้องมีปลาจับโดยที่จะจับมือกับแพปลาที่เป็นพันธมิตรกันมานาน ผู้ผลิตลูกปลามีที่ขาย อาหารจะต้องดีได้คุณภาพและมาตรฐาน จึงจะเป็นพาร์ทเนอร์กันแบบยั่งยืน
ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นอาจจะดูเหมือนไม่มีน้ำหนักมากพอ ทีมงานสัตว์น้ำ ไปพบกับเกษตรกรผู้รับลูกพันธุ์ปลาหมอไปเลี้ยงอีก 2 ราย ที่เลี้ยงมานานกว่า 10 ปี ทั้ง 2 ท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปลาหมอมีรูปทรงใหญ่และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีต้องขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และอาหารเป็นหลัก หากสายพันธุ์มีคุณภาพ อาหารได้มาตรฐาน เลี้ยงปลาหมอให้มีการเจริญเติบโตที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก
อำพรพันธุ์ปลา-โดย-คุณพีระพงค์-เจริญลาภ-บริษัท-ไทยลักซ์-เอ็นเตอร์ไพรส์-จำกัด-มหาชน-
อำพรพันธุ์ปลา-โดย-คุณพีระพงค์-เจริญลาภ-บริษัท-ไทยลักซ์-เอ็นเตอร์ไพรส์-จำกัด-มหาชน-

คุณพินิจ  เชาว์ลิต เลี้ยงปลาหมอนานกว่า 14 ปี

เดิมทีที่แห่งนี้ คุณพินิจ  เชาว์ลิต เลี้ยงตะพาบน้ำในปี 40 แต่ขายยาก ขาดทุนจึงได้หันมาเลี้ยงปลาโดยเริ่มจากปลาช่อนแต่ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน กำไรน้อย จึงหาปลาชนิดใหม่และได้มาพบกับปลาหมอและเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน แรกเริ่มนั้นได้พันธุ์ปลาหมอมาจากพัทลุงและไม่ได้ใช้อาหารของบริษัทไทยลักซ์ ฯ
ซึ่งตอนนั้นลูกปลาที่ออกมามี 5 ขนาด และขนาดที่เฉลี่ยออกมาจะมีเพียงแค่ขนาดเล็กกับขนาดกลางตัวใหญ่จะมีน้อย ทำให้เลี้ยงแล้วไม่ได้กำไรเท่าที่ควร
และในขณะเดียวกันทางอำพรพันธุ์ปลามีการพัฒนาสายพันธุ์มาในระดับหนึ่งในช่วงแรกคือไม่มีการแปลงเพศ ใช้หลักการทางพันธุ์กรรมในการไขว้พ่อแม่พันธุ์กันและให้เป็นเพศเมียมากที่สุดเพราะหากเป็นเพศผู้ขนาดจะไม่ใหญ่ มีขนาดอยู่ที่ 2-3 นิ้ว
และมีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆเนื่องจากยังมีเปอร์เซ็นต์ตัวผู้ในปริมาณที่มากอยู่ จึงได้เพิ่มในส่วนของการแปลงเพศขึ้นมา ปลาที่ออกมาถึงมีขนาดเสมอกัน และเปลี่ยนแหล่งมาเรื่อยๆ จนมาพบกับอำพรฟาร์ม หรือ คุณพงศ์ ได้อยู่กันยืนยาวมานานกว่า 10 ปี ด้วย การเลี้ยงปลาหมอ จำนวน 2 บ่อ โดยการใช้น้ำบาดาลในการเลี้ยง
คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ-ปลาหมอ
คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ-ปลาหมอ เลี้ยงปลาหมอ

คัดเลือกลูกพันธุ์คุณภาพ

ในระยะของการปรับปรุงสายพันธุ์รอบแรก บ่อขนาด 1 ไร่ จะมีอัตราการปล่อยมากกว่า 70,000 ตัว ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงปลาหมอ 4 เดือน 15 วัน ผลผลิตที่ได้ 13 ตัวต่อกิโลกรัม หากเป็นฟาร์มทั่วไปที่ยังไม่มีการปรับปรุงสายพันธุ์ ปลาคัดและปลาเล็กจะมีปริมาณมากหากมีการปรับปรุงสายพันธุ์ที่ชัดเจนปลาจะมีขนาดใหญ่เสมอกันและจะทำให้มีกำไรในการเลี้ยง
และเนื่องจากสายพันธุ์ดี โตไว อัตรารอดสูง ทำให้ต้องลดอัตราการปล่อยให้บางลงเหลือเพียง 45,000 ตัวต่อไร่ เท่านั้น แต่เมื่อจับมาผลผลิตเกินคาด ทำให้มีผลผลิตโดยเฉลี่ยถึง 3 ตัวต่อกิโลกรัม ปริมาณกว่า 14.2 ตัน ปกติแล้วช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะไม่ลงปลากันเนื่องจากปลาจะไม่โตเพราะสภาพอากาศที่ร้อนแต่หากเป็นปลาหมอที่ผ่านการแปลงเพศและพัฒนาสายพันธุ์สามารถที่จะปล่อยลงเลี้ยงได้

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : https://goo.gl/iFsYg2